นพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์

1. การนำข้อมูลในคลังข้อมูลไปใช้ต้องอ้างอิงที่มาเสมอ
2. ห้ามดัดแปลงข้อมูลใดๆ ที่แตกต่างไปจากต้นฉบับ
3. ห้ามใช้ข้อมูลเพื่อการค้า
4. เผยแพร่ดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตเดียวกันเสมอ (ขออนุญาตเจ้าของเอกสารหรือหอจดหมายเหตุฯ)
5. ผู้นำไปใช้บริการต้องสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์หอจดหมายเหตุฯ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการรับบริการ

 

     มีเอกสารและวัตถุ จำนวน    543,713   ชิ้น

     อัพโหลดแล้ว จำนวน    81   ชิ้น

 



 


ค้นหาข้อมูล


KEYWORD

ข้อมูลทั้งหมด

โครงการภัยพิบัติชุมชน-อุกทกภัยครั้งใหญ่ ปี 2554

รหัสเอกสาร | ภัยพิบัติชุมชน

โครงการภัยพิบัติชุมชน

อุกทกภัยครั้งใหญ่ ปี 2554 ทำให้ผู้คนหันมาทบทวนความสำคัญของ “นิเวศวัฒนธรรมกับภัยพิบัติ” บทเรียนการพัฒนาผังเมือง ระบบการจัดการน้ำ ที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงเกิดภัยพิบัติทั้งประเทศ บทพิสูจน์ปีอุทกภัยปี 2554 เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในการพัฒนาฐานคิดการรับมือภัยพิบัติโดยเน้นชุมชนเป็นฐาน การปรับตัวอยู่ร่วมกับภัยพิบัติ การลดความเสี่ยงด้วยการดึงศักยภาพชุมชนเพื่อรับมือกับภัยพิบัติเบื้องต้น

[ DOWNLOAD ]

Image

โครงการภัยพิบัติชุมชน-โรคระบาด

รหัสเอกสาร | ภัยพิบัติชุมชน

โครงการภัยพิบัติชุมชน

โรคระบาด ภัยพิบัติประเภทหนึ่งที่สัมพันธ์กับมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และการระบาดของโรค กรณีของไข้เลือดออก ด้านการสาธารณสุข การใช้เครื่องมือพ่นยุงเป็นการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคแล้ว ด้านหนึ่งยังต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเป็นสำคัญด้วย เช่น การปรับตัวของวัฒนธรรมการเป็นอยู่ของชุมชน บ้านเรือน แหล่งน้ำขัง ที่จำเป็นต้องช่วยกันดูแลเพื่อลดโอกาสเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เป็นต้น

[ DOWNLOAD ]

Image

โครงการภัยพิบัติชุมชน-ไฟป่า

รหัสเอกสาร | ภัยพิบัติชุมชน

โครงการภัยพิบัติชุมชน

ไฟป่า ภัยพิบัติที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิต วัฒนธรรมชุมชน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่า การบริหารจัดการป่า และการจัดการไฟป่า นอกจากใช้กฎหมายดำเนินการแล้ว การพิจารณาถึงวิถีชีวิตและมิติทางด้านสังคมวัฒนธรรมของผู้คนละแวกป่ายังมีความสำคัญด้วย เพราะบางกรณีการควบคุมไฟป่ากลับส่งผลต่อการเข้าถึงทรัพยากรป่าชุมชน ความมั่นคงทางอาหาร และเศรษฐกิจชุมชน เป็นเงื่อนไขสำคัญที่นำชีวิตผู้คนไปเผชิญกับความเสี่ยง ทั้งความเสี่ยงทางสังคมและความเสี่ยงทางสุขภาพอีกด้วย

[ DOWNLOAD ]

Image

โครงการภาพถ่ายสุขภาพหนึ่งเดียว-การใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์-ปีพ.ศ.2561

รหัสเอกสาร | One health

โครงการภาพถ่ายสุขภาพหนึ่งเดียว

โครงการภาพถ่ายสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health Photography) มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์ที่สะท้อนแนวคิดสุขภาพ   ซึ่งไม่ได้สะท้อนแต่การแพทย์หรือสุขภาพของมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงสุขภาพสัตว์ ระบบนิเวศ หรือสิ่งแวดล้อมด้วย โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในบริเวณ “Hotspot” เช่น โรงพยาบาลทั่วไป ฟาร์มหมู สวนส้ม ที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในยุคสมัยที่ผู้คนตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งเผยแพร่ภาพที่เกิดขึ้นในประเทศไทยให้กับประชาคมโลกได้รับรู้

[ DOWNLOAD ]

Image

โครงการภาพถ่ายสุขภาพหนึ่งเดียว-การใช้ยาปฏิชีวนะในพืช-ปีพ.ศ.2561

รหัสเอกสาร | One health

โครงการภาพถ่ายสุขภาพหนึ่งเดียว

โครงการ ภาพถ่ายสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health Photography) มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์ที่สะท้อนแนวคิดสุขภาพ   ซึ่งไม่ได้สะท้อนแต่การแพทย์หรือสุขภาพของมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงสุขภาพสัตว์ ระบบนิเวศ หรือสิ่งแวดล้อมด้วย โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในบริเวณ “Hotspot” เช่น โรงพยาบาลทั่วไป ฟาร์มหมู สวนส้ม ที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในยุคสมัยที่ผู้คนตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งเผยแพร่ภาพที่เกิดขึ้นในประเทศไทยให้กับประชาคมโลกได้รับรู้

[ DOWNLOAD ]

Image

โครงการภาพถ่ายสุขภาพหนึ่งเดียว-การใช้ยาปฏิชีวนะในคน-ปีพ.ศ.2561

รหัสเอกสาร | One health

โครงการภาพถ่ายสุขภาพหนึ่งเดียว

โครงการ ภาพถ่ายสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health Photography) มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์ที่สะท้อนแนวคิดสุขภาพ   ซึ่งไม่ได้สะท้อนแต่การแพทย์หรือสุขภาพของมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงสุขภาพสัตว์ ระบบนิเวศ หรือสิ่งแวดล้อมด้วย โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในบริเวณ “Hotspot” เช่น โรงพยาบาลทั่วไป ฟาร์มหมู สวนส้ม ที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในยุคสมัยที่ผู้คนตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สัตว์ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งเผยแพร่ภาพที่เกิดขึ้นในประเทศไทยให้กับประชาคมโลกได้รับรู้

[ DOWNLOAD ]

Image

สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ-โครงการแรงบันดาลใจการสร้างสุขภาวะ จากพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช-ปีพ.ศ.2559-2560

รหัสเอกสาร | รัชกาลที่9

สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2489  พระราชกรณียกิจในระยะแรกเกือบทั้งหมดล้วนแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขและการพัฒนาสุขภาพของประชาชนทั้งสิ้น พระองค์ทรงให้ความสำคัญและตระหนักใส่ใจในการสร้างสุขภาพและปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้แก่ประชาชน เช่น การเลิกสูบบุหรี่  การออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว การเล่นกีฬา เห็นได้จากพระราชดำรัสที่ว่า “ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือ พลเมือง นั่นเอง” พระองค์ได้วางรากฐาน "สังคมสุขภาวะ" ไว้ให้กับประเทศไทย ภารกิจที่ทรงดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาเป็นต้นแบบและเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนได้เป็นอย่างมากในการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม  ซึ่งแรงบันดาลเหล่านี้เป็นพลังสำคัญในการที่จะให้ผู้คนได้เรียนรู้และสร้างสรรค์สุขภาวะจากต้นแบบของพระองค์ การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำมาซึ่งความเศร้าโศก เสียใจ และอาลัยของพสกนิกร  ในช่วงเวลานี้ จึงเป็นเวลาที่สำคัญที่จะรวบรวมผลงานต่าง ๆ ของพระองค์และเก็บบันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คน อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและเรียนรู้ต่อไป

[ DOWNLOAD ]

Image

สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ-บทบาทคลินิกหมอครอบครัว(Primary Care Cluster)

รหัสเอกสาร | คลินิกหมอครอบครัว

สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ

คลินิกหมอครอบครัวมีบทบาทดังนี้
1.สร้างเสริมสุขภาพ ทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข โดยสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงและพัฒนาสุขภาพ ทั้งตนเอง ครอบครัวและสังคม

2.ดูแลและเป็นที่พึ่งยามเจ็บป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เช่น ผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย เน้นการดูแลทั้งการดูแลระยะยาว (Long Term Care) การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) โดยเน้นการมีทีมดูแลถึงที่บ้าน
3.ดูแลรักษา เยียวยา บำบัด ฟื้นฟูสภาพ เป็นที่พึ่งให้ประชาชนและครอบครัว ในทุกสภาวะสุขภาพอย่างเข้าใจทุกปัญหาสุขภาพ ของครอบครัวอย่างแท้จริง
4.ให้คำปรึกษา แนะนำต่างๆ ในหลากหลายช่องทางที่ยึดความสะดวก และสอดคล้องกับบริบทของประชาชน และครอบครัวเป็นสำคัญ
5.ดูแลในกรณีมีการส่งต่อให้เป็นไปอย่างราบรื่น เป็นตัวกลางในการเชื่อมประสาน เป็นที่ปรึกษาและติดตามหลังส่งต่อจนสิ้นสุดปัญหาด้านความเจ็บป่วย
6.เสริมพลังให้ประชาชนให้เข้าใจสุขภาพตนเอง และสนับสนุนให้เกิดการดูแลสุขภาพตนเอง (Self Care) ให้สอดคล้องกับบริบทสังคมวัฒนธรรมของแต่ละครอบครัว
7.จัดทำข้อมูลสถานะสุขภาพประจ าครอบครัว (Family Health Status) เพื่อให้รู้ปัจจัยเสี่ยง รวมถึงแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพ เข้าใจประวัติชีวิตครอบครัว เข้าใจความสัมพันธ์ของปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมที่เป็นตัวกำหนดสภาวะสุขภาพของครอบครัว เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสุขภาวะ

[ DOWNLOAD ]

Image

กองสุขศึกษา-พิธีวางศิลาฤกษ์ สถานพยาบาลพระประแดง (รพ.โรคเรื้อน)-ปีพ.ศ. 2501

รหัสเอกสาร | โรคเรื้อน

กองสุขศึกษา

ในปี พ.ศ.2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงห่วงใยในปัญหาโรคเรื้อนและโครงการควบคุมโรคเรื้อนแบบใหม่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ ศาสตราจารย์นายแพทย์สวัสดิ์ แดงสว่าง อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เข้าเฝ้าถวายรายงานเรื่องปัญหาและแผนการดำเนินโครงการฯ ที่ได้รับสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก ซึ่งเวลาต่อมาพระองค์ทรงรับโครงการควบคุมโรคเรื้อนไว้เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ โดยมีพระกระแสรับสั่งให้เร่งรัดขยายโครงการฯ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศโดยเร็ว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานทุนอานันทมหิดล จำนวน 175,064.74 บาทเป็นทุนเริ่มแรกให้กับกรมอนามัย เพื่อไปสร้างสถาบันสำหรับศึกษาวิจัยและฝึกอบรมพนักงานบำบัดโรคเรื้อน โดยมีผู้โดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนอีกเป็นจำนวนมาก มีการสร้างอาคารทั้งหมด 4 หลังเพิ่มขึ้นในบริเวณสถานพยาบาลโรคเรื้อนพระประแดง และมีพิธีวางศิลาฤกษ์สถานพยาบาลโรคเรื้อนพระประแดง ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2501 โดยสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2502 และพระองค์ทรงพระราชทานชื่อว่า “สถาบันราชประชาสมาสัย” อันมีความหมายว่าพระมาหากษัตริย์และประชาชนย่อมต้องอาศัยซึ่งกันและกัน

 

[ DOWNLOAD ]

Image

กองสุขศึกษา-ภาพเปิดสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง อ.บางพลี สมุทรปราการ 10 ม.ค. 2502

รหัสเอกสาร | สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง

กองสุขศึกษา

หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ ได้รับมอบเอกสารจากกองสุขศึกษา ในวันที่  7 มีนาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งมีสื่อโสตทัศน์หลายรายการด้วยกัน และในจำนวนนั้นได้มี สมุดอัลบั้มภาพเก่าที่รวบรวมภาพการทำงานสาธารณสุขของกองสุขศึกษาในช่วง พ.ศ. 2500-2505 ไว้จำนวน 6 อัลบั้ม ซึ่งภาพถ่ายเหล่านั้นเป็นภาพสะท้อนการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆของกองสุขศึกษาที่มีความสำคัญกับสังคมไทย และเป็นหนึ่งในหน้าสำคัญของประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย หนึ่งในอัลบั้มภาพเหล่านั้นมีภาพการเปิดสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง อ.บางพลี สมุทรปราการ ซึ่งถูกพัฒนามาจากสุขศาลาชั้นหนึ่งเช่นเดียวกัน

[ DOWNLOAD ]

Image

หน้า: « ก่อนหน้า 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8