ทั่วไป

หมวดหลัก
เอกสารหน่วยงาน -> สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

รหัสเอกสาร
สช 1-4

ผู้รวบรวมเอกสาร
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

ชื่อ
ประวัติสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) - ปีพ.ศ.2535-2551

คำนำ
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เดิมชื่อ สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ โดยใช้การจัดทำ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ เป็น "เป้าหมายเชิงรูปธรรม" และดึงเอาภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาร่วมทำงาน ร่วมเรียนรู้และปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่เรื่องสุขภาพมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 ต่อมาสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) ได้จัดทำ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติประสบผลสำเร็จ มีผลบังคับใช้ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550 ส่งผลให้ สปรส. เปลี่ยนผ่านมาเป็น สช. นับตั้งแต่นั้น ตามที่ได้บัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ว่า "ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน และเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในส่วนของสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติไปเป็นของสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้" สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐ และมีฐานะเป็นนิติบุคคลในกำกับนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นองค์กรเลขานุการของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) บทบาทหน้าที่หลักมีดังนี้
1.รับผิดชอบงานเลขานุการของ คสช. และคบ.
2.ประสานงานกับหน่วยงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ และดำเนินการเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในระดับนโยบายยุทธศาสตร์ และแผนงานด้านสุขภาพ
3.สำรวจ ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งสถานการณ์ของระบบสุขภาพ เพื่อจัดทำเป็นรายงานหรือเพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินการตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
4.ดำเนินการเพื่อให้มีการจัดสมัชชาสุขภาพและสนับสนุนการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นให้บรรลุผลตามมติของ คสช.
5. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามกฎหมาย หรือตามที่คณะรัฐมนตรีและ คสช. มอบหมาย
ลักษณะของเอกสารของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้รับมอบตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2552 ประกอบด้วยเอกสารประเภทกระดาษแผ่น หนังสือ แผ่นพับ รายงานการประชุม รายงานการวิจัย ภาพถ่าย ฟิล์มภาพถ่าย ซีดี วีซีดี วิดีโอ แถบบันทึกเสียง และวัตถุเป็นโล่รางวัล เป็นต้น ระยะเวลาของเอกสาร พ.ศ. 2535-2551 โดยมีเอกสาร จำนวน 86 กล่อง สื่อโสตทัศน์ จำนวน 80 กล่อง และอัลบั้มภาพ จำนวน 22 อัลบั้ม เอกสารที่น่าสนใจ เช่น เอกสารผู้บริหาร แผนงานยกร่าง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ แผนงานผลักดัน พ.ร.บ. และแผนงานสื่อสาธารณะ เป็นต้น

ห้องภาพ

วีดีโอ/เสียง

วิดีโอ
Get the Flash Player to see this player.
เสียง
Get the Flash Player to see this player.

เอกสาร

อื่นๆ

ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร (Identity statement area)
1.1 สัญลักษณ์หรือรหัสอ้างอิง (Reference code(s))
(1) – (4) สช 1- 4
1.2 ชื่อเอกสาร (Title)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
1.3 วัน เดือน ปี ของเอกสาร (Date(s))
พ.ศ. 2538 – 2551
1.4 ระดับของคำอธิบายเอกสาร (Level of description)
ระดับกลุ่ม
1.5 ขนาดและสื่อของเอกสาร (ปริมาณ จำนวนหรือขนาด) (Extent and medium of the unit ofdescription)
1.5.1 กล่องเอกสารขนาด 13 x 39 x 27 เซนติเมตร จำนวน 58 กล่อง 1.5.2 แฟ้มขนาด 24 x 37½ x 2 เซนติเมตร (กว้าง x ยาว x สูง) จำนวน 3,048 แฟ้ม
ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับบริบทของเอกสาร (Context area)
2.1 ชื่อผู้ผลิต/รวบรวมเอกสาร (Name of creator(s))
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
2.2 ประวัติหน่วยงานหรือประวัติเจ้าของเอกสาร (Administrative / Biographical history)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เดิมชื่อ สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ โดยใช้การจัดทำ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ เป็น “เป้าหมายเชิงรูปธรรม” และดึงเอาภาคส่วนต่างๆ เข้ามาร่วมทำงาน ร่วมเรียนรู้และปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่เรื่องสุขภาพมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 ต่อมา สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) ได้จัดทำ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติประสบผลสำเร็จ มีผลบังคับใช้ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550 ส่งผลให้ สปรส. เปลี่ยนผ่านมาเป็น สช. นับตั้งแต่นั้น ตามที่ได้บัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ว่า “ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน และเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในส่วนของสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติไปเป็นของสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้” สช. มีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคลในกำกับนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นองค์กรเลขานุการของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) บทบาทหน้าที่หลักมีดังนี้ 1. รับผิดชอบงานเลขานุการของ คสช. และ คบ. 2. ประสานงานกับหน่วยงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ และดำเนินการเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในระดับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานด้านสุขภาพ 3. สำรวจ ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ รวมทั้งสถานการณ์ของระบบสุขภาพ เพื่อจัดทำเป็นรายงาน หรือเพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินการตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550 4. ดำเนินการเพื่อให้มีการจัดสมัชชาสุขภาพและสนับสนุนการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นให้บรรลุผลตามมติของ คสช. 5. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามกฎหมาย หรือตามที่คณะรัฐมนตรีและ คสช. มอบหมาย
2.3 ประวัติของเอกสารจดหมายเหตุ (Archival history)
เอกสารของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้รับมอบตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นมา กลุ่มแรกได้แก่เอกสารผู้บริหาร แผนงานยกร่าง พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ แผนงานผลักดัน พ.ร.บ. และแผนงานสื่อสาธารณะ และมีแผนงานที่จะโอนย้ายเอกสารกลุ่มใหม่ๆ เมื่อจัดหมวดหมู่เอกสารและจัดทำบัญชีเอกสารกลุ่มเดิมสำเร็จแล้วต่อไป
2.4 แหล่งเอกสารหรือหน่วยงานหรือผู้มอบหรือโอนย้ายเอกสาร (Immediate source of acquisition or transfer)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
ส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาและโครงสร้างของเอกสาร (Content and structure area)
3.1 ขอบเขตและเนื้อหาของเอกสาร (Scope and content)
เอกสารของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ที่ได้รับมอบและจัดหมวดหมู่และจัดทำบัญชีสำรวจเอกสารสำเร็จแล้ว ได้แก่ 1. แผนงานยกร่าง พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2543 - 2550 จำนวน 18 กล่อง ประกอบด้วย การประชุมคณะอนุกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ การสอบทานความคิดเห็นร่างกลไกนโยบายสุขภาพแห่งชาติ คณะทำงานยกร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ กฎหมายปรับปรุงกฤษฎีกา พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2. เอกสารผู้บริหาร พ.ศ. 2543 – 2550 จำนวน 6 กล่อง ประกอบด้วย คณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (คปรส.) ปฏิรูประบบสุขภาพ และ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ (เอกสาร นพ. อำพล จินดาวัฒนะ) 3. แผนงานผลักดัน พ.ร.บ. พ.ศ. 2546 – 2548 จำนวน 7 กล่อง ประกอบด้วย พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ เอกสารการประชุมกฤษฎีกา / กลั่นกรอง สกช. งาน พ.ร.บ. (47) เครือข่ายส่งเสริมกระบวนการเสนอกฎหมายภาคประชาชน (สกช.) วาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (2548) เอกสารงานผลักดัน พ.ร.บ. ฯ ข้อมูลการเงินและงบประมาณ ข่าวหนังสือพิมพ์ / มติ ครม. / เกาะติด หนังสือเข้าสำคัญ ปี 2548 – 2550 (พ.ร.บ.) เอกสารงานผลักดัน พ.ร.บ.ฯ ปี 2549 เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. สุขภาพ ฯ เอกสารวิชาการ ผลการประเมินสมัชชาสุขภาพ ผลการประเมินสมัชชาสุขภาพ ปี 2548 4. แผนงานสื่อสาธารณะ พ.ศ.2543 – 2551 จำนวน 27 กล่อง ประกอบด้วย วิทยุชุมชนเพื่อปฏิรูประบบสุขภาพ โครงการรวมพลังสร้างสุขภาพ สมัชชาสุขภาพ ฯลฯ
3.2 การประเมินคุณค่า การทำลายและการกำหนดอายุการเก็บเอกสาร (Appraisal destruction and scheduling information)
เอกสารกลุ่มนี้มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์และรากเหง้าการปฏิรูประบบสุขภาพในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทยจัดเก็บเป็นเอกสารจดหมายเหตุตลอดไป
3.3 การเพิ่มขึ้นของเอกสาร (Accruals)
สช. จะส่งเอกสารสำคัญตามที่ได้ตกลงโอนย้ายเอกสารให้หอจดหมายเหตุฯ ตามคู่มือการประเมินคุณค่าเอกสารและกำห
3.4 ระบบการจัดเรียงเอกสาร (System of arrangement)
การจัดเรียงเอกสารชุดนี้ จัดเรียงตามรูปลักษณ์ของเอกสาร คือ กระดาษแผ่น หนังสือ ซีดี วีดีโอ แถบบันทึกเส
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการเข้าถึงและการใช้เอกสาร (Conditions of access and use area)
4.1 เงื่อนไขในการเข้าถึงเอกสาร (Conditions governing access)
เอกสารให้บริการเฉพาะภายในห้องอ่านเท่านั้นไม่อนุญาตให้นำออกจากห้องใช้บริการ
4.2 เงื่อนไขการทำสำเนาเอกสาร (Conditions governing reproduction)
ผู้ใช้บริการต้องแจ้งให้เจ้าหน้าจัดทำสำเนาให้และเสียค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทยกำหนด
4.3 ภาษา/ตัวอักษรของวัสดุจดหมายเหตุ (Language/scripts of material)
ภาษาไทยและอังกฤษ
4.4 ลักษณะทางกายภาพและทางเทคนิคที่มีผลต่อการใช้เอกสาร (Physical characteristics and technical requirements)
กระดาษแผ่น หนังสือ ซีดี วีดีโอ แถบบันทึกเสียง ภาพถ่าย และแผ่นพับ
4.5 เครื่องมือช่วยค้น (Finding aids)
บัญชีสำรวจเอกสาร
ส่วนที่ 5 ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุที่เกี่ยวข้อง (Allied materials area)
5.1 สถานที่เก็บเอกสารต้นฉบับ (Existence and location of originals)
หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย ชั้น 3 (อาคาร 10 ชั้น) สถาบันบำราศนราดูร 26/146 ซ. ติวานนท์ 14 ถ. ติวานนท์ ต. ตลาดขวัญ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทร. /โทรสาร 0 2951 1009 เว็บไซต์ http://www.nham.or.th/ อีเมล์ : info@nham.or.th
5.2 สถานที่เก็บเอกสารฉบับสำเนา (Existence and location of copies)

5.3 เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Related units of description)

5.4 ข้อความเกี่ยวกับการพิมพ์ (Publication note)
ส่วนที่ 6 ข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ หรือส่วนหมายเหตุ (Notes area)
6.1 หมายเหตุ (Notes)
ส่วนที่ 7 ข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมการทำคำอธิบายเอกสาร (Description control area)
7.1 บันทึกของนักจดหมายเหตุ (Archivist's note)
แบบคำอธิบายเอกสารนี้ใช้ข้อมูลตาม ISAD (G) : General International Standard Archival Description seco
7.2 กฎ ระเบียบหรือแนวปฏิบัติ (Rules or conventions)
การเข้าใช้เอกสารให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการเข้าใช้เอกสารของหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย พ.ศ
7.3 วัน เดือน ปีที่จัดทำคำอธิบายเอกสาร (Date(s) of descriptions)
วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552