ทั่วไป

หมวดหลัก
เอกสารภาคประชาชน -> นิยม มุทาวัน

รหัสเอกสาร
สบ 7.1 - 7.2

ผู้รวบรวมเอกสาร
นางนิยม มุทาวัน

ชื่อ
นางนิยม มุทาวัน-ภาพถ่ายการปฏิบัติงานผดุงครรภ์-ปีพ.ศ.2510-2541

คำนำ

เอกสารของนางนิยม มุทาวัน ผดุงครรภ์ยุคบุกเบิกของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับมอบเอกสารชุดนี้จากงานสัมมนาผู้รู้เห็น (Witness seminar) เรื่อง ประวัติศาสตร์สาธารณสุขชุมชน วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ในงานมหกรรมสุขภาพชุมชนประจำปี 2552 ลักษณะของเอกสารเป็นกระดาษแผ่นและภาพถ่าย สมัยที่ท่านทำงานเป็นผดุงครรภ์ในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ อายุของเอกสารอยู่ระหว่างประมาณ พ.ศ. 2510 - 2541 รวม 1 กล่อง

ห้องภาพ

วีดีโอ/เสียง

วิดีโอ
Get the Flash Player to see this player.
เสียง
Get the Flash Player to see this player.

เอกสาร

อื่นๆ

ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร (Identity statement area)
1.1 สัญลักษณ์หรือรหัสอ้างอิง (Reference code(s))
สบ 7
1.2 ชื่อเอกสาร (Title)
นางนิยม มุทาวัน
1.3 วัน เดือน ปี ของเอกสาร (Date(s))
พ.ศ. 2510 - 2541
1.4 ระดับของคำอธิบายเอกสาร (Level of description)
ระดับกลุ่ม
1.5 ขนาดและสื่อของเอกสาร (ปริมาณ จำนวนหรือขนาด) (Extent and medium of the unit ofdescription)
1.5.1 กล่องเอกสารขนาด 13 x 39 x 27 เซนติเมตร จำนวน 1 กล่อง
ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับบริบทของเอกสาร (Context area)
2.1 ชื่อผู้ผลิต/รวบรวมเอกสาร (Name of creator(s))
นางนิยม มุทาวัน
2.2 ประวัติหน่วยงานหรือประวัติเจ้าของเอกสาร (Administrative / Biographical history)
นางนิยม มุทาวัน เกิดวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านเลขที่ 1138 ถ.พรหมราช คุ้มวัดกลาง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี บิดาชื่อนายสุก จินาเสน มีอาชีพรับราชการ มารดาชื่อนางหมาย จินาเสน มีอาชีพแม่บ้าน สมรสกับนายนนท์ มุทาวัน ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 569 ถ.เจริญผล ต.บุ่ง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 37000 นางนิยมได้รับการศึกษาชั้นประถม (ป.4) ที่โรงเรียนอุบลวิทยาคม พ.ศ. 2483 จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี และ พ.ศ. 2485 จบการศึกษาหลักสูตรผดุงครรภ์ วชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร ด้านการงาน พ.ศ. 2484 สมัครเป็นครูโรงเรียนราษฎร์ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ พ.ศ. 2486 สมัครเป็นผดุงครรภ์ ที่ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2487 – 2518 บรรจุเป็นผดุงครรภ์ที่สุขศาลา ชั้น 1 อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี (อยู่ทำงาน 2 เดือน) จากนั้นเป็นผดุงครรภ์ที่สุขศาลาชั้น 2 อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบัน จ.อำนาจเจริญ) ไปปฏิบัติงานที่สถานีอนามัย อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี และปฏิบัติงานที่ศูนย์การแพทย์และอนามัย อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี หลังจาก พ.ศ. 2519 แล้วลาออกจากราชการ เพื่อสมัครมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี ผลงานดีเด่น พ.ศ. 2535 เป็นสมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดอำนาจเจริญ และได้รับพระราชทานเหรียญสมนาคุณ ชั้น 2 พ.ศ. 2536 ได้รับพระราชทานรางวัลแม่ดีเด่น สาขาแม่บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ประจำจังหวัดอุบลราชธานี ระหว่าง พ.ศ. 2540 – 2549 เป็นผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดอำนาจเจริญ และเป็นกรรมการบริหารโรงพยาบาลอำนาจเจริญ (ภาคเอกชน) ปัจจุบัน เป็นที่ปรึกษาเหล่ากาชาดจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นกรรมการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตจังหวัดอำนาจเจริญ และทำธุรกิจร้านขายยาสามัญประจำบ้าน
2.3 ประวัติของเอกสารจดหมายเหตุ (Archival history)
เอกสารชุดนี้นางนิยม มุทาวัน ส่งมอบให้หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย ในงานสัมมนาผู้รู้เห็น (Witness seminar) เรื่อง ประวัติศาสตร์สาธารณสุขชุมชน ณ ห้อง Meeting Room 3 วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ในงานมหกรรมสุขภาพชุมชน ประจำปี 2552 เป็นเอกสารและภาพถ่ายในช่วงที่นางนิยมปฏิบัติงานในหน้าที่ผดุงครรภ์ตามสถานีอนามัยในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ รวมถึงการบำเพ็ญกุศลเนื่องในโอกาสต่างๆ
2.4 แหล่งเอกสารหรือหน่วยงานหรือผู้มอบหรือโอนย้ายเอกสาร (Immediate source of acquisition or transfer)
นางนิยม มุทาวัน
ส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาและโครงสร้างของเอกสาร (Content and structure area)
3.1 ขอบเขตและเนื้อหาของเอกสาร (Scope and content)
รหัส (7) สบ 7.1 เป็นหนังสือขอบคุณที่นางนิยม มุทาวัน และคณะ บริจาคอาหาร คาวหวานแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ อาสาสมัคร และชุดคุ้มครองหมู่บ้านจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เขตอุบลราชธานี รหัส (7) สบ 7.2 เป็นภาพการบริจาคสิ่งของ การประชุมเหล่ากาชาด การสอบผ่านผู้พิพากษาสมทบ การบริจาคหนังสือ หน้าร้านขายยาแม่นิยม ร่วมงานประชุมกาชาดปี พ.ศ. 2541 และการปฏิบัติงานผดุงครรภ์ที่ศูนย์การแพทย์และอนามัย จังหวัดอำนาจเจริญ
3.2 การประเมินคุณค่า การทำลายและการกำหนดอายุการเก็บเอกสาร (Appraisal destruction and scheduling information)
เอกสารชุดนี้มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์สาธารณสุขชุมชน เพราะเป็นภาพที่บอกเล่าเรื่องราว สภาพสถานที่ของสถานีอนามัยในสมัยนั้น สะท้อนเรื่องราวของคนทำงานสาธารณสุขชุมชนในท้องถิ่น ให้เห็นถึงพัฒนาการของสถานีอนามัยกว่าจะมาถึงโรงพยาบาลชุมชนในปัจจุบัน
3.3 การเพิ่มขึ้นของเอกสาร (Accruals)
-
3.4 ระบบการจัดเรียงเอกสาร (System of arrangement)
การจัดเรียงตามรูปลักษณ์ของเอกสาร คือ กระดาษแผ่นและภาพถ่าย และเรียงตามวัน เดือน ปี ของเอกสาร
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการเข้าถึงและการใช้เอกสาร (Conditions of access and use area)
4.1 เงื่อนไขในการเข้าถึงเอกสาร (Conditions governing access)
เอกสารให้บริการเฉพาะภายในห้องอ่านเท่านั้นไม่อนุญาตให้นำออกจากห้องใช้บริการ
4.2 เงื่อนไขการทำสำเนาเอกสาร (Conditions governing reproduction)
ผู้ใช้บริการต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่จัดทำสำเนาให้และเสียค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทยกำหนด
4.3 ภาษา/ตัวอักษรของวัสดุจดหมายเหตุ (Language/scripts of material)
ภาษาไทยและอังกฤษ
4.4 ลักษณะทางกายภาพและทางเทคนิคที่มีผลต่อการใช้เอกสาร (Physical characteristics and technical requirements)
กระดาษแผ่นและภาพถ่าย
4.5 เครื่องมือช่วยค้น (Finding aids)
คำอธิบายเอกสาร บัญชีสำรวจเอกสาร และสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต
ส่วนที่ 5 ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุที่เกี่ยวข้อง (Allied materials area)
5.1 สถานที่เก็บเอกสารต้นฉบับ (Existence and location of originals)
หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย ชั้น 3 (อาคาร 10 ชั้น) สถาบันบำราศนราดูร 26/146 ซ. ติวานนท์ 14 ถ. ติวานนท์ ต. ตลาดขวัญ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทร. /โทรสาร 0 2951 1009 เว็บไซต์ http://www.nham.or.th/ อีเมล์ : info@nham.or.th
5.2 สถานที่เก็บเอกสารฉบับสำเนา (Existence and location of copies)
-
5.3 เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Related units of description)
-
5.4 ข้อความเกี่ยวกับการพิมพ์ (Publication note)
-
ส่วนที่ 6 ข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ หรือส่วนหมายเหตุ (Notes area)
6.1 หมายเหตุ (Notes)
-
ส่วนที่ 7 ข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมการทำคำอธิบายเอกสาร (Description control area)
7.1 บันทึกของนักจดหมายเหตุ (Archivist's note)
แบบคำอธิบายเอกสารนี้ใช้ข้อมูลตาม ISAD(G) : General International Standard Archival Description secon
7.2 กฎ ระเบียบหรือแนวปฏิบัติ (Rules or conventions)
การเข้าใช้เอกสารให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการเข้าใช้เอกสารของหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย พ.ศ
7.3 วัน เดือน ปีที่จัดทำคำอธิบายเอกสาร (Date(s) of descriptions)
วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552