ทั่วไป

หมวดหลัก
เอกสารภาคประชาชน -> ต่วน ถ่ายเกิด

รหัสเอกสาร
สบ 6.1 - 6.3

ผู้รวบรวมเอกสาร
นายต่วน ถ่ายเกิด

ชื่อ
นายต่วน ถ่ายเกิด-ตำรายารักษาโรคแบบโบราณ-ปีร.ศ.131-พ.ศ.2481

คำนำ

เอกสารของนายต่วน ถ่ายเกิด หมอยาแผนโบราณ ในจังหวัดพิจิตร ได้รับมอบจากนายภูเมธ หงสไกร ซึ่งมีฐานะเป็นเหลนของท่าน เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นตำรายารักษาโรคแบบโบราณ ซึ่งบันทึกด้วยลายมือในสมุดบันทึก สมุดข่อย (สมุดไทยขาว) หนังสือตำรายาที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ มีทั้งอักษรไทยปัจจุบัน อักษรไทยน้อย อักษรขอมไทย อายุเอกสารอยู่ระหว่าง ร.ศ. 131 - พ.ศ. 2481 รวม 4 กล่อง

ห้องภาพ

วีดีโอ/เสียง

วิดีโอ
Get the Flash Player to see this player.
เสียง
Get the Flash Player to see this player.

เอกสาร

อื่นๆ

ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร (Identity statement area)
1.1 สัญลักษณ์หรือรหัสอ้างอิง (Reference code(s))
สบ 6
1.2 ชื่อเอกสาร (Title)
นายต่วน ถ่ายเกิด
1.3 วัน เดือน ปี ของเอกสาร (Date(s))
ร.ศ. 131 – พ.ศ. 2481
1.4 ระดับของคำอธิบายเอกสาร (Level of description)
ระดับกลุ่ม
1.5 ขนาดและสื่อของเอกสาร (ปริมาณ จำนวนหรือขนาด) (Extent and medium of the unit ofdescription)
1.5.1 กล่องเอกสารขนาด 13 x 39 x 27 เซนติเมตร จำนวน 4 กล่อง
ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับบริบทของเอกสาร (Context area)
2.1 ชื่อผู้ผลิต/รวบรวมเอกสาร (Name of creator(s))
นายภูเมศ หงสไกร
2.2 ประวัติหน่วยงานหรือประวัติเจ้าของเอกสาร (Administrative / Biographical history)
นายต่วน ถ่ายเกิด เกิดวันที่.....เป็นชาวจังหวัดพิจิตร และได้รับการศึกษาตำราทางการแพทย์สมัยบวชเรียน จนสามารถอ่าน-เขียนอักษรขอมไทย อักษรไทยน้อย และอักษรไทยโบราณได้ หลังจากลาสิกขาแล้วก็ได้ประกอบอาชีพหมอแผนโบราณ (ข้อมูลอยู่ระหว่างปรับปรุง)
2.3 ประวัติของเอกสารจดหมายเหตุ (Archival history)
เอกสารชุดนี้เป็นเอกสารที่นายต่วน ถ่ายเกิด ใช้เป็นตำราในการรักษาประชาชนในจังหวัดพิจิตร เมื่อท่านเสียชีวิตแล้วลูกหลานได้รวบรวมไว้ ประกอบด้วย หนังสือตำรายาแผนโบราณ สมุดบันทึกลายมือ ตำรายาสมุดข่อย (สมุดไทยขาว) เขียนด้วยลายมืออักษรไทยโบราณ อักษรขอมไทย อักษรไทยน้อย และอักษรไทยปัจจุบัน อายุของเอกสารอยู่ระหว่าง ร.ศ. 131 – พ.ศ. 2481 เอกสารทั้งหมดได้รับมอบจากนายภูเมธ หงสไกร เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
2.4 แหล่งเอกสารหรือหน่วยงานหรือผู้มอบหรือโอนย้ายเอกสาร (Immediate source of acquisition or transfer)
นายภูเมธ หงสไกร
ส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาและโครงสร้างของเอกสาร (Content and structure area)
3.1 ขอบเขตและเนื้อหาของเอกสาร (Scope and content)
รหัส (6) สบ 6.1 เป็นหนังสือตำรายาแผนโบราณ ตำรายาเกร็ด แพทยศาสตร์สังเคราะห์ ตำรายา ขันธวิภังคินี หนังสืองานศพนายยิ้ม ศรีหงส์ รหัส (6) สบ 6.2 สมุดบันทึกลายมือ เป็นตำราดำรงครรภ์รักษา ตำรายาพระพุทธโคดม ตำรายาธาตุ 4 ตำรายาพื้นบ้านของนายต่วน ถ่ายเกิด สมัยบวชเป็นพระ ตำรายา โองการพระมหาเถรตำแยแก้ได้ ๑๐๘ ประการ และตำรายาแก้ไข้ชนิดต่างๆ รหัส (6) สบ 6.3 สมุดไทยขาว เขียนด้วยลายมือโดยใช้อักษรไทยโบราณมีเนื้อหาเกี่ยวกับตำรายาแก้ฝีต่างๆ
3.2 การประเมินคุณค่า การทำลายและการกำหนดอายุการเก็บเอกสาร (Appraisal destruction and scheduling information)
เอกสารชุดนี้มีคุณค่าทางด้านการแพทย์แผนโบราณและประวัติศาสตร์สาธารณสุขชุมชน ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่ยังอนุรักษ์ตำรายาแผนโบราณในรูปแบบต่าง ๆ ไว้ ซึ่งจะให้ความรู้ด้านสมุนไพรแก่ชุมชนท้องถิ่น สามารถนำความรู้ในเอกสารเหล่านี้ ไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของบุคคลในท้องถิ่นและผู้สนใจทั่วไป และนำไปศึกษาวิจัยด้านสมุนไพรต่อไปได้ หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทยจัดเก็บเป็นเอกสารจดหมายเหตุตลอดไป
3.3 การเพิ่มขึ้นของเอกสาร (Accruals)
-
3.4 ระบบการจัดเรียงเอกสาร (System of arrangement)
การจัดเรียงตามรูปลักษณ์ของเอกสาร คือ หนังสือ สมุดบันทึก สมุดไทยขาว และเรียงตามวัน เดือน ปี ของเอกสาร
ส่วนที่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการเข้าถึงและการใช้เอกสาร (Conditions of access and use area)
4.1 เงื่อนไขในการเข้าถึงเอกสาร (Conditions governing access)
เอกสารให้บริการเฉพาะภายในห้องอ่านเท่านั้นไม่อนุญาตให้นำออกจากห้องใช้บริการ
4.2 เงื่อนไขการทำสำเนาเอกสาร (Conditions governing reproduction)
ผู้ใช้บริการต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่จัดทำสำเนาให้และเสียค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทยกำหนด
4.3 ภาษา/ตัวอักษรของวัสดุจดหมายเหตุ (Language/scripts of material)
อักษรไทยปัจจุบัน อักษรไทยโบราณ อักษรไทยน้อย และอักษรขอมไทย
4.4 ลักษณะทางกายภาพและทางเทคนิคที่มีผลต่อการใช้เอกสาร (Physical characteristics and technical requirements)
กระดาษแผ่น หนังสือ สมุดบันทึก และสมุดไทยขาว (สมุดข่อย)
4.5 เครื่องมือช่วยค้น (Finding aids)
คำอธิบายเอกสาร บัญชีสำรวจเอกสาร และสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต
ส่วนที่ 5 ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุที่เกี่ยวข้อง (Allied materials area)
5.1 สถานที่เก็บเอกสารต้นฉบับ (Existence and location of originals)
หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย ชั้น 3 (อาคาร 10 ชั้น) สถาบันบำราศนราดูร 26/146 ซ. ติวานนท์ 14 ถ. ติวานนท์ ต. ตลาดขวัญ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทร. /โทรสาร 0 2951 1009 เว็บไซต์ http://www.nham.or.th/ อีเมล์ : info@nham.or.th
5.2 สถานที่เก็บเอกสารฉบับสำเนา (Existence and location of copies)
-
5.3 เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Related units of description)
-
5.4 ข้อความเกี่ยวกับการพิมพ์ (Publication note)
-
ส่วนที่ 6 ข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ หรือส่วนหมายเหตุ (Notes area)
6.1 หมายเหตุ (Notes)
-
ส่วนที่ 7 ข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมการทำคำอธิบายเอกสาร (Description control area)
7.1 บันทึกของนักจดหมายเหตุ (Archivist's note)
แบบคำอธิบายเอกสารนี้ใช้ข้อมูลตาม ISAD(G) : General International Standard Archival Description secon
7.2 กฎ ระเบียบหรือแนวปฏิบัติ (Rules or conventions)
การเข้าใช้เอกสารให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการเข้าใช้เอกสารของหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย พ.ศ
7.3 วัน เดือน ปีที่จัดทำคำอธิบายเอกสาร (Date(s) of descriptions)
วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552