การทดลองทำพันธุ์ไข้ทรพิษ

การทดลองพันธุ์ไข้ทรพิษในสมัยรัชกาลที่ 6

      การปลูกฝีเพื่อรักษาไข้ทรพิษตามวิธีการของนายแพทย์ เอ็ดเวิร์ด เจนนิ่ง (Edward Jennings) เป็นที่รับรู้กันแพร่หลายในยุโรปและอเมริกา

     แต่ช่วงที่หมอบรัดเลย์ทำงานในเมืองไทย พันธุ์หนองที่จะเอามาปลูกฝีต้องสั่งมาจากอเมริกาและใช้เวลาถึง ๙ เดือนในการขนส่ง หมอบรัดเลย์จึงใช้วิธีการปลูกทรพิษในการรักษา คือการเอาหนองจากผู้ป่วยมาปลูกใส่ผู้ป่วยโดยตรงอันเป็นวิธีที่การแพทย์จีนใช้มาก่อน ต่างจาการปลูกฝีที่เอาเชื้อมาจากพันธุ์หนองฝีที่ปลูกในวัวและเอาสะเก็ดหนองฝีมาใช้ วิธีการปลูกทรพิษจะเป็นวิธีการที่อันตรายมากกว่า


    หมอบรัดเลย์ได้ทำการทดลองปลูกฝีเป็นครั้งแรก ในวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๗๘ โดยปลูกให้เด็กจำนวน ๑๕ คน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ
เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๓๘๑ ได้เกิดไข้ทรพิษระบาดขึ้นชุกชุม หมอบรัดเลย์ได้เลือกการปลูกทรพิษเป็นวิธีการป้องกัน และได้พิมพ์ใบปลิวชักชวนคนไทยให้มาปลูกทรพิษ


    วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๘๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงทั้งหมดไปหัดการปลูกทรพิษกับพวกมิชชันนารี รวมทั้งหมอเชลยศักดิ์ก็มาฝึกหัดด้วย 


    หมอบรัดเลย์ได้เรียบเรียงตำราว่าด้วยการปลูกทรพิษตามคำขอร้องของเจ้าพระยาพระคลังพร้อมกันไปด้วย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าให้พิมพ์ใบปลิว ๑๐,๐๐๐ ฉบับ แจกจ่ายประชาชนในกรุงเทพฯ เพื่อชักชวนให้มาทำการปลูกทรพิษ 


    หมอบรัดเลย์เห็นว่าการปลูกทรพิษ ยังเป็นอันตรายอยู่ จึงยังไม่เลิก ล้มการทดลองเพื่อทำการปลูกฝีให้สำเร็จ พ.ศ. ๒๓๘๔ ได้ทำการทดลองปลูกฝีอีก โดยใช้สะเก็ดพันธ์หนองฝีโคซึ่งนำมาจากอเมริกาทดลองครั้งแรกกับเด็กจำนวน ๗๕ คนในบ้านพระยาพระคลัง ปลูกขึ้นเพียง ๓-๔ ราย หมอบรัดเลย์ได้เอาพันธ์หนองให้ผู้อื่นทดลองปลูก แต่ก็ไม่ค่อยมีคนอยากทดลอง ทำการได้ประมาณ ๓ เดือนพันธุ์หนองฝีก็หมดลง จำนวนคนที่ปลูกขึ้นทั้งหมดในครั้งนี้ราว ๑๐๐ คน


    ถึงทำการสำเร็จแต่ก็ต้องมีปัญหาเรื่องพันธุ์หนองฝีที่ต้องนำเข้าจากอเมริกา ใช้เวลาเดินทางครางละ ๙  เดือน หมอบรัดเลย์ทำการทดลองผลิตสะเก็ดพันธุ์หนองฝีด้วยตนเอง ในปลายปี พ.ศ. ๒๓๘๕ โดยการฉีดหนองจากผู้ป่วยไข้ทรพิษเข้าไปในวัวหลายตัว และยังได้รับพระราชทานวัวจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีเดียวกันนี้เอง บุตรีของหมอบรัดเลย์ก็เสียชีวิตจากไข้ทรพิษ ด้วยอายุ ๗ เดือน หมอบรัดเลย์พยายามหาวิธีที่จะมีหนองฝีไว้ใช้ได้ตลอด จึงทำการตั้งคลีนิครับปลูกฝีขึ้นเป็นการส่วนตัวเมื่อ    ปี พ.ศ. ๒๓๙๔


    ในขั้นต้นก็นำพันธุ์หนองฝีมาจากอเมริกา คิดค่าปลูกจากคนที่มาปลูกฝีคนละ ๑ บาท และให้กลับมาตรวจดู ถ้าหากฝีขึ้นดีก็จะคืนเงินให้ครึ่งหนึ่ง เงินที่ได้ก็นำไปซื้อหนองฝีจากอเมริกามาปลูกใหม่ ระหว่างรอก็ใช้หนองจากคนที่ปลูกฝีขึ้นดีแล้วมาปลูกต่อกันไป การปลูกฝีที่ป็นผลสำเร็จนี้ ทำให้ภารกิจหลักอย่างหนึ่งของบรรดามิชชันนารี คือการเดินทางออกไปปลูกฝีแม้ในหมู่บ้านตามชนบทท้องถิ่นต่าง ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี

     จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ เมื่อรัฐบาลไทยได้ตั้งสถานผลิตพันธุ์หนองฝีขึ้นที่สี่กั๊กพระยาศรี และออกกฎหมายบังคับให้ทุกคนปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษใน พ.ศ. ๒๔๕๖ การปลูกฝีโดยพวกมิชชันนารีจึงค่อย ๆ ลดความสำคัญลง    
 

การทดลองทำพันธุ์ไข้ทรพิษ (๒๓๗๘-๒๔๔๘) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียบเรียงโดย นภนาท อนุพงษ์พัฒน์