หมอบรัดเลย์กับสูติกรรม

หมอบรัดเลย์กับสูติกรรม

ตำราครรภ์รักษากับการทำสูติกรรม ในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๘๕

    แต่เดิมสังคมไทยทำคลอดกันโดยใช้หมอตำแยเป็นหลัก โดยใช้หมอผู้หญิงเป็นหลัก แต่คัมภีร์สูตินารีโบราณที่ชื่อว่า “คัมภีร์ปฐมจินดา” เชื่อกันว่ามีผู้แต่งเป็นชายใช้นามว่า มหาเถระตำแย 
    หมอบรัดเลย์ เห็นว่าการผดุงครรภ์แบบดั้งเดิมที่ทำกันในสังคมไทย เนื่องจากผู้หญิงไทยต้องเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการทำคลอดอยู่มาก เหตุหนึ่งมาจากการที่ต้องอยู่ไฟหลังคลอดเป็นเวลานาน อีกทั้งทารกที่เกิดมามักมีโรคแทรกซ้อน มีอัตราการตายของแม่และเด็กสูง
    หมอบรัดเลย์พยายามผลักดันให้สังคมไทยหันมาใช้วิธีการในการสูติกรรมแบบใหม่ตามอย่างตะวันตก โดยพยายามผลักดันผ่านหมอหลวง เนื่องจากเห็นว่าหากหมอหลวงเชื่อถือแล้วน่าจะทำให้คนทั่วไปยอมรับได้
     เขาใช้วิธีเขียนตำราเกี่ยวกับการสูติกรรมตามแบบตะวันตกในเวลานั้นออกมา ชื่อว่า “คัมภีร์ครรภ์รักษา” ตำราเล่มนี้แปลและเรียบเรียงมาจากตำราฝรั่งที่พิมพ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา
    เมื่อเรียบเรียงเสร็จแล้วเขาได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ ๑ ฉบับ และได้มีการพิมพ์แจกจ่ายให้กับหมอหลวง ๒๐๐ ฉบับ
    กล่าวกันว่า ก่อนหน้านี้ หมอบรัดเลย์ได้เรียบเรียงตำราปลูกทรพิษขึ้นทูลเกล้าถวายแล้ว ๑ ฉบับ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการพิมพ์เผยแพร่
    จึงอาจกล่าวได้ว่า คัมภีร์ครรภ์รักษาเป็นตำราแพทย์แผนปัจจุบันเล่มแรกที่พิมพ์ขึ้นเป็นภาษาไทย