นวัตกรรมของคนไทยจากทศวรรษ 2500 กล่องใส่กล้องถ่ายรูปใต้น้ำ

นวัตกรรมของคนไทยจากทศวรรษ 2500 กล่องใส่กล้องถ่ายรูปใต้น้ำ

นวัตกรรมของคนไทยจากทศวรรษ 2500 กล่องใส่กล้องถ่ายรูปใต้น้ำ

 

นพ.นัดดา ศรียาภัย ถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ และมีคุณูปการในด้านการทำงานควบคุมและป้องกันวัณโรคจนได้รับการยกย่องเป็น "ปรมาจารย์ด้านการควบคุมวัณโรคของประเทศไทย" นอกจากนี้แล้ว ท่านยังเป็นผู้ที่มีความสนใจในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งท่านก็ได้ทำงานด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งนายกนิยมไพรสมาคมในอดีต และเคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืชเป็นเวลากว่าสิบปี ด้วยอุปนิสัยการเป็นคนรักธรรมชาติและชื่นชอบการดำน้ำ  การได้มีโอกาสลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยมตามสถานที่ต่างๆ อยู่เสมอ ทำให้นพ.นัดดา ศรียาภัยได้มีโอกาสบันทึกเรื่องราวต่างๆ ผ่านทางกล้องถ่ายรูป ซึ่งมีรูปถ่ายจำนวนมากกว่า 3-4 พันรูป เป็นการการันตีฝีมือด้านการถ่ายภาพของ นพ.นัดดา ศรียาภัย ว่าเป็นที่ยอมรับในวงการถ่ายภาพ

เรื่องน่าทึ่งอีกอย่างหนึ่งของ นพ.นัดดา ศรียาภัย ก็คือการประดิษฐ์กล่องกันน้ำสำหรับใส่กล้องเพื่อถ่ายภาพใต้ทะเลด้วยตนเอง โดยหากดูจากผลงานของ นพ.นัดดา ศรียาภัย ที่มีภาพถ่ายใต้น้ำที่ถ่ายไว้ตามเกาะต่างๆ จำนวนมาก ทั้งเกาะสมุย เกาะแตนอก  เกาะเต่า เกาะนางยวน และยังมีทะเลอ่าวไทย โดยท่านนับเป็นบุคคลแรกๆ ของประเทศที่ได้ลงไปถ่ายภาพใต้น้ำ ภาพถ่ายเหล่านั้นสะท้อนให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทะเลไทยในอดีตเมื่อประมาณกว่า 50 ปีที่แล้ว จึงนับเป็นหลักฐานที่หายากและมีความสำคัญมาก แสดงให้เห็นความสมบูรณ์ของแนวปะการัง มีการระบุวัน เวลา สถานที่อย่างชัดเจน มีคุณประโยชน์ต่อการศึกษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อไปในอนาคต

จากกระแสนิยมในการลงไปศึกษาหรือสำรวจสภาพสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ประเทศไทยมีแนวฝั่งทะเลยาวถึง 1300 ไมล์ เมื่อพิจารณาถึงความต้องการของผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกที่มาเยือนประเทศไทยแล้วได้ชมทัศนียภาพใต้ท้องทะเล ก็ต้องอยากเก็บภาพเหล่านั้นไว้ หรือนำมาแสดงให้คนทั่วไป เป็นการกระตุ้นจิตสำนึกของการอนุรักษ์ธรรมชาติใต้ทะเลด้วย แต่ปัญหาใหญ่คือ นวัตกรรมที่ยังไม่พร้อม แม้จะมีการผลิตหีบสำเร็จรูปเพื่อใส่กล้องสำหรับถ่ายภาพใต้ทะเลแล้ว แต่ก็ยังมีราคาสูง  ใช้ได้แค่กับกล้องบางชนิดเท่านั้น

ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ นพ.นัดดา ศรียาภัย ได้คิดประดิษฐ์กล่องกันน้ำ สำหรับใส่กล้องถ่ายภาพใต้ทะเลขึ้นมาด้วยตนเอง เป็นการทลายข้อจำกัดดังกล่าว แล้วยังได้ตีพิมพ์ลงเป็นบทความเกี่ยวกับการถ่ายภาพรูปใต้ทะเลลงในวารสารรายเดือน ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 11 เล่มที่ 6 มิถุนายน 2500 เป็นจำนวน 9 หน้า โดยอธิบายรายละเอียดของการออกแบบและสร้างหีบใส่กล้อง Contaflex เพื่อเผยแพร่ให้ผู้สนใจทั่วไป ได้นำไปประดิษฐ์กล่องใส่กล้องถ่ายภาพใต้ทะเลด้วยตนเองได้

 

เพื่อเก็บรักษาสืบทอดเรื่องราวและภูมิปัญญาที่มีค่านี้ไว้ในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์เจ้าหน้าที่ของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติจึงได้จัดเก็บรวมรวบเอกสารดังกล่าวไว้ในแฟ้ม Nadda’s PUBLISHED STORIES ต้นฉบับ การถ่ายรูปใต้น้ำ ทะเบียนรหัสเอกสารจดหมายเหตุ (18) สบ 18.1.1/11.2 เป็นจดหมายเหตุส่วนบุคคลของ ของ นพ.นัดดา ศรียาภัย เพื่อจัดเก็บและให้บริการแก่ประชาชนที่สนใจ  

 

 

   เอกสารต้นฉบับจดหมายเหตุ

 

          

ภาพที่ 1                                                      ภาพที่ 2

 ภาพที่ 3

          

                                           ภาพที่ 4                                                          ภาพที่ 5

        

                                                  ภาพที่ 6                                                            ภาพที่ 7

 

 วารสาร "วิทยาศาสตร์" ฉบับเดือนมิถุนายน 2500 

                

                                         ภาพที่ 8                                                                 ภาพที่ 9

 

ผู้สนใจสามารถเข้ามาศึกษาเอกสารจดหมายเหตุ หรือขอข้อมูลได้ที่ หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 อาคารคลังพัสดุ(88/37) กระทรวงสาธารณสุข ซอยสาธารณสุข 6 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000  โทร. 092 858 9665 หรือติดต่อสอบถามที่ส่วนงานบริหาร สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ โทร. 0 2590 1352