ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว

ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว

แวดวงงานสังคมและสุขภาพจากอดีตถึงปัจจุบัน ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว คือ"คุณพ่อเสม"

 

      ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว มักกล่าวย้ำให้ฟังเสมอ เมื่อทีมงานหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทยไปพบและขอให้ท่านเล่าเรื่องราวการทำงานในสมัยอดีต ท่านจะพูดว่า เราจำเป็นจะต้องมีความรู้และเข้าใจความเป็นมาของมนุษย์ ก่อนจะมีการแพทย์ ดาวน์โหลด
    

ครั้งหนึ่งเมื่อต้นปีนี้ ทีมนักวิชาการประวัติศาสตร์และสังคมมีความตั้งใจไปสัมภาษณ์คุณพ่อเสม ด้วยความสนใจแง่มุมชีวิตและการทำงานในบางช่วงที่ยังไม่ได้มีในการบันทึก โดยเฉพาะช่วงชีวิตการทำงานบุกเบิกงานการแพทย์ที่จังหวัดเชียงราย อาจารย์สันติพงษ์ ช้างเผือก ตั้งข้อสังเกตถึงความเป็นมาที่น่าสนใจแต่ขาดหายไป คือ การทำงานการแพทย์การสาธารณสุขในพื้นที่ชุมชนของคุณพ่อ ช่วง 14 ปีที่มีงานบุกเบิกมีรายละเอียดที่ขาดหายไป ซึ่งมีความน่าสนใจในเรื่องราวที่ท่านจะได้เล่าและบันทึกไว้

ทีมงานวิชาการที่มาร่วมกันทำงานประวัติศาสตร์ให้กับหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทยในช่วงนั้น มีอาจารย์ธวัช มณีผ่อง นายสันติพงษ์ ช้างเผือก ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ เผือกสม และทพ.ญ.ปาริชาติ ลุนทา และทีมงานหอจดหมายเหตุฯ ได้นัดหมายและเตรียมการไปสัมภาษณ์คุณพ่อที่บ้านเมื่อไปถึงซึ่งสายกว่าเวลานัดหมาย ด้วยเหตุผลความผิดพลาดทางเทคนิคที่ใครก็อ้างกัน แต่วันนั้นการนัดหมายพลาดหลายจุด จนไปถึงสายกว่าเวลานัดเกือบหนึ่งชั่วโมง ลูกชายพาท่านเดินออกมาที่เรือนต้อนรับในสวน

ท่านเริ่มตั้งคำถามหลังการแนะนำตัวแต่ละคนก่อน คือ เมืองเชียงรายก่อตั้งในปีไหน เสรีไทยมี "3 ป" คือใครบ้าง จุดที่เสรีไทยมาลงเครื่องบินคือจังหวัดใด  นามสกุล"ช้างเผือก" มีต้นตระกูลมาจากไหน เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้ซักถามก่อนจนคำถามที่ทางนักวิชาการเตรียมไปสัมภาษณ์ไม่อาจหลุดออกจากปากได้ เนื่องจากเราตอบคำถามท่านไม่ได้หลายคำถาม แต่ก็ได้ทราบว่าท่านมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคมตลอดช่วงชีวิตการเป็นแพทย์ของท่าน สะท้อนแง่มุมความรอบรู้ของท่านได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางหอจดหมายเหตุฯจะได้รวบรวมเรียบเรียงออกมาเผยแพร่ต่อไป